โครงสร้าง 2 ชั้น
โครงสร้าง 2 ชั้น ประกอบด้วย
ชั้นที่ 1 ชั้นโถงผู้โดยสาร เป็นสถานที่สำหรับซื้อและตรวจตั๋วโดยสารและแสดงแผนภูมิเส้นทางรถไฟฟ้า
ชั้นที่ 2 ชั้นชานชาลา เป็นชั้นที่รถไฟฟ้าจอดเทียบรับ-ส่งผู้โดยสาร ประตูจะเปิดและปิดเมื่อรถไฟฟ้าจอดเทียบสถานีเท่านั้น
โครงสร้าง 2 ชั้นนี้ มีจำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีหัวลำโพง สถานีห้วยขวาง สถานีสุทธิสาร และ สถานีบางซื่อ
โครงสร้าง 3 ชั้น
โครงสร้าง 3 ชั้น ประกอบด้วย
ชั้นที่ 1 ชั้นรวมผู้โดยสาร มีลักษณะเป็นพื้นที่โล่ง ประกอบด้วยร้านค้าปลีกต่างๆ
ชั้นที่ 2 ชั้นโถงผู้โดยสาร เป็นสถานที่สำหรับซื้อและตรวจตั๋วโดยสารและแสดงแผนภูมิเส้นทางรถไฟฟ้า
ชั้นที่ 3 ชั้นชานชาลา เป็นชั้นที่รถไฟฟ้าจอดเทียบรับ-ส่งผู้โดยสาร ประตูจะเปิดและปิดเมื่อรถไฟฟ้าจอดเทียบสถานีเท่านั้น
โครงสร้างสถานี 3 ชั้น เป็นโครงสร้างที่สถานีส่วนใหญ๋สร้างในลักษณะนี้ ซึ่งมีจำนวน 11 สถานี ได้แก่ สถานีคลองเตย สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานีสุขุมวิท สถานีเพชรบุรี สถานีพระราม 9 สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีรัชดาภิเษก สถานีลาดพร้าว สถานีพหลโยธิน สถานีสวนจตุจักร สถานีกำแพงเพชร
โครงสร้าง 4 ชั้น
โครงสร้าง 4 ชั้น มีรายละเอียดโครงสร้างเช่นเดียวกับ 2 ชั้น และ 3 ชั้น ประกอบ
ชั้นที่ 1 ชั้นโถงผู้โดยสาร
ชั้นที่ 2 ชั้นชานชาลา
ชั้นที่ 3 เป็นชั้นห้องเครื่องสำหรับระบบต่างๆ เช่น พัดลมดูดอากาศ ระบบไฟฟ้า เป็นต้น
ชั้นที่ 4 ชั้นชานชาลาล่าง
โครงสร้าง 4 ชั้นนี้ มีจำนวน 3 สถานี ได้แก่ สถานีสามย่าน สถานีสีลม และสถานีลุมพินี สาเหตุที่สถานีดังกล่าวต้องสร้างโครงสร้าง 4 ชั้น ก็เนื่องจากภายใต้พื้นดินมีสาธารณูปโภค เช่น อุโมงค์ประปา สายไฟฟ้า และสายโทรศัพท์ กีดขวางอยู่ เป็นจำนวนมาก ในการก่อสร้างสถานีจึงต้องหลีกเลี่ยงสาธารณูปโภคดังกล่าว
การบริหารงานโครงการ
ในการบริหารงานโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ได้แบ่งเป็น 5 สัญญาก่อสร้าง และ 1 สัญญาสัมปทาน คือ
สัญญาที่ 1
งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์และสถานีส่วนใต้ คือตั้งแต่สถานีหัวลำโพงถึงสถานีพระราม 9 รวม 9 สถานี เป็นงานอุโมงค์เชื่อมต่อระหว่างสถานี อุโมงค์ส่วนแยกเข้าสู่ศูนย์ซ่อมบำรุง และปล่องระบายอากาศระหว่างสถานี 3 แห่ง
สัญญาที่ 2
งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์และสถานีส่วนเหนือ คือตั้งแต่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยถึงสถานีบางซื่อ รวม 9 สถานี เป็นงานในลักษณะเดียวกันกับส่วนใต้ ต่างกันตรงที่มีปล่องระบายอากาศระหว่างสถานี 5 แห่ง
สัญญาที่ 3
งานออกแบบก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง เป็นการก่อสร้างลานคอนกรีตเพื่อใช้เป็นลานจอดรถไฟฟ้ายกระดับ สูงจากพื้นดินประมาณ 2 เมตร
สัญญาที่ 4
งานออกแบบ จัดหา และติดตั้งระบบราง เป็นสัญญาติดตั้งและวางรางรถไฟฟ้าทั้งรางวิ่งและรางจ่ายกระแสไฟฟ้า ทั้งส่วนเหนือ ส่วนใต้ และศูนย์ซ่อมบำรุง
สัญญาที่ 5
งานออกแบบ จัดหา และติดตั้งลิฟต์และบันไดเลื่อน
สัญญาที่ 6
งานสัมปทานออกแบบ จัดหาและติดตั้งระบบรถไฟฟ้าและเดินรถ เป็นสัญญาสัมปทานให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนและบริการเดินรถ ดำเนินการโดย บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BMCL) โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 เป็นช่วงเวลาตั้งแต่ลงนามในสัญญาสัมปทานจนกระทั่งรถไฟฟ้าใต้ดินพร้อมเปิดให้บริการ โดยผู้สัมปทานมีหน้าที่ ออกแบบ ผลิต จัดหา ติดตั้ง ทดสอบ และทดลองใช้งานอุปกรณ์งานระบบร่วมกับโครงสร้างพื้นฐานทางโยธาของ รฟม.
ระยะที่ 2 เป็นช่วงเวลาตั้งแต่การให้บริการและบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นเวลา 25 ปี ตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการ จนกระทั่งสิ้นสุด และจะต้องนำโครงสร้างพื้นฐานโยธาและงานระบบทั้งหมดที่ BMCL จัดหาคืนให้กับ รฟม. โดย BMCL ได้ว่าจ้างบริษํท Siemens จำกัด เป็นผู้รัเหมา ในลักษณะการจ้างแบบเบ็ดเสร็จ โดยเป็นผู้ดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ผลิต ติดตั้ง ไปจนกระทั่งทำให้ระบบมีความพร้อมที่จะใช้งาน รวมถึงอบรมพนักงานให้มีความพร้อมในการให้บริการได้ด้วย และเป็นผู้บำรุงรักษาอุปกรณ์งานระบบอีกเป็นระยะเวลา 10 ปี
การจัดเก็บค่าโดยสาร
บัตรโดยสาร
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. เหรียญโดยสาร มีลักษณะเป็นเหรียญพลาสติกวงกลม สามารถซื้อได้จากเครื่องจำหน่ายบัตรโดยสาร ใช้สำหรับการโดยสารเพียงเที่ยวเดียว
2. บัตรโดยสารชนิดเติมเงิน มีลักษณะเท่ากับบัตรเครดิต สามารถซื้อได้จากห้องจำหน่ายบัตรโดยสารในสถานี เหมาะสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้บริการเป็นประจำ
เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสาร
เป็นระบบอัตโนมัติแบบสัมผัส รับได้ทั้งเหรียญและธนบัตร และสามารถทอนเงินได้
ประตูอัตโนมัติ
สามารถเปิดได้โดยไม่จำเป็นต้องสอดบัตรหรือเหรียญโดยสาร เพียงนำบัตรหรือเหรียญเข้าใกล้ประมาณ 10 เซนติเมตร เครื่องจะเปิดได้เองโดยอัตโนมัติ
บริษัทผู้รับสัมปทาน : บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
รายการ | เงินลงทุน | หน่วย |
ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน | 5,900.00 | ล้านบาท |
ค่าก่อสร้างงานโยธา | 53,683.75 | ล้านบาท |
ค่างานระบบรถไฟฟ้า | 22,785.42 | ล้านบาท |
รวม | 82,369.17 | ล้านบาท |
รายการ | เงินลงทุน | หน่วย |
ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน | 3,920.00 | ล้านบาท |
ค่าก่อสร้างงานโยธา | 10,870.00 | ล้านบาท |
ค่างานระบบรถไฟฟ้า | 6,407.00 | ล้านบาท |
รวม | 21,197.00 | ล้านบาท |